เปิดงานวิจัยกาแฟดำประโยชน์ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
FOOD FOR FIT
26 พฤศจิกายน 2567
187
โรคหัวใจ คือกลุ่มของโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อาจหมายถึงโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงที่แสดงถึงความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด และส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงยังกล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมอง โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น
โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease) เป็นกลุ่มอาการของโรคหัวใจที่ครอบคลุมอีก 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 3 ในคนไทยรองจากโรคมะเร็งและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ อีกทั้งคำว่าโรคหัวใจในความหมายของคนทั่วไปมักเข้าใจว่า โรคหัวใจคือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่มักพบผู้ป่วยหรือพบในหมู่ญาติ เพื่อนฝูง และคนรู้จัก และเป็นปัญหาอย่างทุกข์ใจอย่างมาก แต่แท้จริงแล้วสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดหัวใจที่มีไขมันมาเกาะสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ หรือที่เรียกว่า เป็นตะกอนตะกรันในหลอดเลือด (Cholesterol Plague) อันเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือด หรือบางครั้งคราบไขมันนี้แตกทำให้เกิดลิ่มเลือดมาอุดตันเฉียบพลัน หรือที่เรียกภาวะ หัวใจวาย หรือ Heart Attack [1]
สาเหตุความเจ็บป่วยของโรคหัวใจ
โรคหัวใจ หรือภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ ของกลุ่มโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจนั้นเกิดจากหลายปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด เนื่องมาจากพฤติกรรมความเสี่ยงที่มาจาก
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญมีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการประเมินจากปัจจัยเสี่ยงที่ประกอบไปด้วย อายุ เพศ ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน รวมไปถึงประวัติครอบครัว พฤติการการใช้ชีวิตที่ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานผัก-ผลไม้ โดยสามารถแยกเป็น
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
แต่ตัวเราเองก็ต้องมีความรู้ สังเกตอาการตัวเองว่านั่นคือ สัญญาณเตือนภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการดูแลป้องกัน ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ
รู้ไหมว่า! นี่คืออาการเริ่มต้นหรือสัญญาณเตือนว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ [2] [3]
วิธีดูแลป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
รู้ไหมว่า กาแฟดำประโยชน์คือเครื่องดื่มประจำวันของใครหลายคน และจัดเป็นเครื่องดื่มกาแฟดำที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก หากดูจากสถิติในแต่ละปี คอกาแฟทั่วโลกดื่มกาแฟดำเฉลี่ยสูงถึงคนละ 42.6 ลิตร ซึ่งหากมองในด้านโภชนาการ กาแฟดำที่ไม่ได้ใส่เสริมเติมแต่งส่วนผสมอย่างอื่น เช่น ครีมเทียมและน้ำตาลทราย จัดเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำ โดยกาแฟดำประโยชน์ 1 แก้ว (240 มล. หรือ 8 ออนซ์) มีพลังงานน้อยกว่า 5 กิโลแคลอรี และมีคุณค่าทางโภชนาการโดยมีสารสำคัญ เช่น คาเฟอีน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม กรดโฟลิก และสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย แต่สารสำคัญในกาแฟดำที่เรารู้จักกันมากที่สุดก็คือคาเฟอีน ที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบประสาทและสมอง สร้างความสดชื่น ตื่นตัว กระปรี้กะเปร่า ได้เป็นอย่างดี แต่ปริมาณคาเฟอีนรวมถึงสารสำคัญต่าง ๆ ในกาแฟดำจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับสายพันธุ์และคุณภาพของกระบวนการผลิต ซึ่งหากเปรียบเทียบกาแฟในปริมาณที่เท่ากัน กาแฟสำเร็จรูป มีคาเฟอีน 24 มิลลิกรัม ต่อ 30 มิลลิลิตร ส่วนกาแฟเอสเพรซโซ่ มีคาเฟอีน 64 มิลลิกรัมต่อ 30 มิลลิลิตร อีกทั้งในปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงข้อดีต่อสุขภาพจากการดื่มกาแฟดำว่า การดื่มกาแฟดำในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ อีกทั้งยังสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 21% [7]
งานวิจัยกาแฟดำประโยชน์ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
Heart Health บทความโดยโรงพยาบาลพระรามเก้า บอกว่านอกจากคาเฟอีนในกาแฟดำ ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกที่อยู่ในกาแฟดำ เช่น แมกนีเซียม วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี12 โซเดียม แมงกานีส โพแทสเซียม แอล-คานีทีน ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีสารสำคัญอยู่ในเมล็ดกาแฟดำมากมายที่ล้วนมีประโยชน์กับสุขภาพร่างกายแตกต่างกันออกไป จากการศึกษายังพบว่า กาแฟดำเท่านั้น ที่ไม่ได้หมายความรวมไปถึงกาแฟที่มีส่วนประกอบของนมและน้ำตาล ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และลดอัตรการเสียชีวิต เมื่อดื่มกาแฟดำปริมาณ 2-4 แก้ว/วัน (ที่ดีที่สุดคือ 3.5 แก้ว/วัน) ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มกาแฟดำ และยังมีอีกหลายงานวิจัยยืนยันว่าการดื่มกาแฟดำในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 21% [7] [9]
ในปี 2021 มีการศึกษาจาก Biobank (คลังข้อมูลชีวภาพ หรือฐานข้อมูลชีวการแพทย์ขนาดใหญ่ที่จัดเก็บตัวอย่างทางชีววิทยาสำหรับการวิจัย และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการวิจัยทางการแพทย์) เรื่องการดื่มกาแฟดำ โดยการดื่มกาแฟดำ เป็นประจำ 0.5 - 3 แก้ว/วัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงหรืออัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟดำ และนอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาอีกมากที่พบว่าการดื่มกาแฟดำ 3 แก้ว/วัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟดำมากขึ้นนั้นดีต่อสมอง แต่สิ่งที่คอกาแฟดำต้องตระหนักก็คือ กาแฟแต่ละชนิด มีคาเฟอีนไม่เท่ากัน จึงควรบริโภคกาแฟดำในปริมาณที่พอดี [8]
นักวิจัยต่างใช้ข้อมูลจาก UK Biobank ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลด้านอาหารและสุขภาพจากผู้อยู่อาศัยในสหราชอาณาจักรมากกว่า 500,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 69 ปี โดยมุ่งเน้นผู้เข้าร่วมที่ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหารอย่างน้อยหนึ่งข้อ ไม่รวมผู้ที่มีภาวะหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว หรือมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับการบริโภคกาแฟหรือชา และมีการวิเคราะห์ขั้นตอนสุดท้ายด้วยการตรวจสอบการบริโภคคาเฟอีนของผู้เข้าร่วม 172,315 คน และการบริโภคกาแฟและชาของผู้เข้าร่วม 188,091 คน โดยนักวิจัยได้ทำการคัดแยกความแตกต่างระหว่างตัวเลือกปกติและแบบไม่มีคาเฟอีน และประเมินการบริโภคตามปกติของผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถาม โดยหาค่าเฉลี่ยของคำตอบจากแบบสอบถามด้านอาหารหลายรายการ
ผู้ทำแบบสอบถามถูกจัดหมวดหมู่ตามปริมาณการดื่มกาแฟและชา โดยเฉลี่ยโดยประมาณ 0, 1, 2, 3, 4, 5 หรือเครื่องดื่มหรือมากกว่านั้น/วัน และปริมาณคาเฟอีนทั้งหมดโดยประมาณ/วัน ในหน่วยมิลลิกรัม (มก.) จากการดื่มกาแฟและชาปกติ โดยมีตั้งแต่ 0 ถึง 100 มก. /วัน ไปจนถึง มากกว่า 400 มก. /วัน
ในผลการศึกษานี้ยังได้วิเคราะห์สารเมตาบอไลต์ 168 ชนิด (ซึ่งเป็นสารที่ถูกผลิตขึ้นในระหว่างที่ร่างกายเริ่มกระบวนการของระบบการเผาผลาญ) เพื่อระบุสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคกาแฟ ชา คาเฟอีน และภาวะของกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้เข้าร่วมกลุ่มย่อยจำนวนมาก
นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าการบริโภคกาแฟและคาเฟอีนในระดับปานกลาง มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงในการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มกาแฟดำ ขนาด 8 ออนซ์ 3 แก้ว หรือคาเฟอีน 200–300 มก. /วันสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลง 48.1% หรือ 40.7% ของการเกิดโรคในกลุ่มโรคหัวใจ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟดำ หรือผู้ที่บริโภคกาเฟอีนในปริมาณที่น้อยกว่า 100 มก. /วัน
นักวิจัยยังระบุได้ถึงสารเมตาบอไลต์ 81 ถึง 97 รายการ ที่เกี่ยวข้องกับกาแฟ ชา และคาเฟอีน ที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพเหล่านี้ และค้นพบข้อสรุปที่ว่าการดื่มกาแฟดำและการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่พอดีเป็นประจำ อาจมีส่วนช่วยปกป้องสุขภาพร่างกายจากโรคต่าง ๆ ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ [10]
ที่มา
[1] หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยใกล้ตัว / บทความสุขภาพ / โรงพยาบาลปิยมหาราชการุณย์
[2] สัญญาณเตือนกลุ่มโรคหัวใจ
[3] อาการ สาเหตุ การป้องกัน เเละใครเสี่ยง? / บทความสุขภาพ / โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
[4] การประเมินความสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด / โครงการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับปีงบประมาณ 2559 ภาตใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
[5] “สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
[6] โรคหัวใจเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัยและแนวทางการรักษา
[7] ข้อดี-ข้อเสียของกาแฟ / คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
[8] ผลการวิจัยเผย ดื่มกาแฟมากกว่า 1 แก้วต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อม / สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
[9] HEART COFFEE HEALTH บทความโดยโรงพยาบาลพระรามเก้า
[10] healthline การบริโภคกาแฟในระดับปานกลางเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหัวใจและโรคเมตาบอลิซึม
โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease) เป็นกลุ่มอาการของโรคหัวใจที่ครอบคลุมอีก 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 3 ในคนไทยรองจากโรคมะเร็งและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ อีกทั้งคำว่าโรคหัวใจในความหมายของคนทั่วไปมักเข้าใจว่า โรคหัวใจคือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่มักพบผู้ป่วยหรือพบในหมู่ญาติ เพื่อนฝูง และคนรู้จัก และเป็นปัญหาอย่างทุกข์ใจอย่างมาก แต่แท้จริงแล้วสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือดหัวใจที่มีไขมันมาเกาะสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ หรือที่เรียกว่า เป็นตะกอนตะกรันในหลอดเลือด (Cholesterol Plague) อันเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือด หรือบางครั้งคราบไขมันนี้แตกทำให้เกิดลิ่มเลือดมาอุดตันเฉียบพลัน หรือที่เรียกภาวะ หัวใจวาย หรือ Heart Attack [1]
สาเหตุความเจ็บป่วยของโรคหัวใจ
โรคหัวใจ หรือภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ ของกลุ่มโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจนั้นเกิดจากหลายปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดภาวะลิ่มเลือด ไขมันสะสมและอุดตันการไหลเวียนของเลือด เนื่องมาจากพฤติกรรมความเสี่ยงที่มาจาก
- การใช้ชีวิต ไม่ออกกำลังกาย ชอบบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และเกลือสูงมากเกินไป
- สูบบุหรี่ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
- ความเครียด มีส่วนต่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด
- กรรมพันธุ์ มีความเสี่ยงถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน
- มีความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
- มีระดับคอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลที่สูงสามารถทำให้เกิดการสะสมในหลอดเลือด
- โรคเบาหวาน ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
- ไขมันในเลือดสูง และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อันนำไปสู่การป่วยของโรคหัวใจ
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญมีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการประเมินจากปัจจัยเสี่ยงที่ประกอบไปด้วย อายุ เพศ ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน รวมไปถึงประวัติครอบครัว พฤติการการใช้ชีวิตที่ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานผัก-ผลไม้ โดยสามารถแยกเป็น
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- อายุ ที่มากขึ้น มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่จะเกิดการเสียหายและแคบลง รวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแอหรือหนาขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีอายุ 65 ปีขึ้นไป และหากในผู้ที่มีช่วงอายุนี้เกิดภาวะหัวใจวาย ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้อีกด้วย
- เพศ ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและมีอาการรุนแรงคือเพศชาย แต่ในเพศหญิงจะมีความเสี่ยงของโรคหัวใจเพิ่มขึ้นหลังวัยหมดประจําเดือน
- ความเสี่ยงในเพศชาย เนื่องจากระดับเทสโทสเตอโรนต่ำที่อาจส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศลดลงแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงระบบเผาผลาญพลังงานที่เสื่อมลงอีกด้วย
- ความเสี่ยงในเพศหญิง อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หากดูแลครรภ์ได้ไม่ดี จะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs หลังคลอดได้ และสามารถส่งต่อพันธุกรรมไปสู่ทายาทได้เช่นกัน อีกทั้งหลังวัยหมดประจําเดือนจะเกิดภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคในหลอดเลือดที่จะหดตัวหรือตีบลงได้
- ประวัติครอบครัวหรือพันธุกรรม เด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ยิ่งในผู้ที่มีเชื้อชาติของคนผิวสี ชาวอเมริกันอินเดียน ชาวฮาวายพื้นเมือง ชาวเม็กซิกัน และชาวเอเชีย ถ้าหากเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง ฯลฯ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก เนื่องจากในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพของช่องปาก เช่น ฟันและเหงือกไม่แข็งแรง มีฟันผุ เหงือกอักเสบเรื้อรัง อาจมีส่วนทําให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค แล้วทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบกระแสเลือด และต่อไปยังระบบการทำงานของหัวใจได้ง่ายขึ้น และอาจส่งผลทําให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบอีกด้วย
- กินอาหารทำร้ายสุขภาพ จำพวกอาหารที่มีไขมัน เกลือหรือโซเดียม และน้ำตาล ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ
- สูบบุหรี่ หรือได้รับมลภาวะเป็นพิษ ด้วยเพราะว่าในควันบุหรี่ ทั้งที่เป็นมือ 1 และมือ 2 (บุหรี่มือ2 คือผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่) ล้วนมีสารที่สามารถทําลายหลอดเลือดแดง กระตุ้นการเกิดโรคหัวใจวาย มีอัตราความเสี่ยงสูงในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมไปถึงการได้รับฝุ่น ควัน มลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ฝุ่น PM 2.5 สารปรอท ตะกั่ว และควันไฟจากการเผาไหม้ สารพิษ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ สามารถสร้างการอักเสบต่อหลอดเลือดไปจนถึงระดับเซลล์ได้
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และดื่มในปริมาณมาก สามารถทำให้เกิดระดับไตรกลีเซอไรด์สูงชนิดเรื้อรัง ที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือดสูง ล้วนเป็นปัจจับยที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ
- ความดันโลหิตสูง มีส่วนทําให้หลอดเลือดแดงแข็งและหนาจนเริ่มตีบตันกีดขวางทางเดินของระบบไหลเวียนโลหิตที่ต้องลำเลียงสารอาหารไปหล่อเลี้ยงหัวใจและเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพและชีวิตเราได้ในที่สุด
- คอเลสเตอรอลสูง มีส่วนในการทำร้ายหลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือดได้รับการเชื่อมโยงกับภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
- เป็นโรคเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วนและความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวหรือเป็นโรคอ้วน ถือเป็นศูนย์กลางของการรวมปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
- ความเครียดเรื้อรัง มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการทําลายหลอดเลือดแดงได้จากการหลั่งสารอะดรีนาลีน และฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา โดยในส่วนของสารอะดรีนาลีนมีส่วนทำให้หัวใจเต้นเร็วและอาจรุนแรงถึงขั้นเต้นผิดจังหวะที่ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และในส่วนของสารคอร์ติซอลนั้นมีส่วนในการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลในระดับที่สูงกว่าปกตินั่นเอง
- นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลต่อการการสร้างและฟื้นฟูระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะการนอนหลับพักผ่อนที่ดีมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูระบบสมอง อารมณ์ ความจํา และการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน หากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ทั้งทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับสมองและประสาทตามมาได้
- ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด มีส่วนของการสูบฉีดระบบไหลเวียนเลือด รวมถึงปรับความสมดุลของฮอร์โมนและระบบเผาผลาญ แต่ถ้าหากคุณเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ก็ไม่ควรจะออกกำลังที่ทำให้คุณต้องเหนื่อยหอบมากเกินไปหรือขอคำแนะนำจากแพทย์ของคุณก่อน
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ช่วยส่งผลต่อการดูแลป้องกันและรักษาโรคได้ทันท่วงที ซึ่งการตรวจประเมินสุขภาพเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าคุณดูแลสุขภาพได้อย่างดี ไม่มีอาการผิดปกติของร่างกาย พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับกับการใช้ชีวิตของคุณ [5]
แต่ตัวเราเองก็ต้องมีความรู้ สังเกตอาการตัวเองว่านั่นคือ สัญญาณเตือนภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการดูแลป้องกัน ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ
รู้ไหมว่า! นี่คืออาการเริ่มต้นหรือสัญญาณเตือนว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ [2] [3]
- หนาวบ่อย หรือมีความรู้สึกหนาว ในผู้ที่เริ่มมีปัญหาเรื่องหัวใจ อาจมีอาการรู้สึกหนาว หรือเกิดความรู้สึกหนาวบ่อยครั้ง
- เจ็บแน่นหน้าอก เหมือนมีความรู้สึกเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกหรืออักเสบในบริเวณทรวงอก อาจมีลักษณะอาการหนักเบาที่แตกต่างกันไป เช่น จะมีอาการแบบแน่น ๆ หนัก ๆ เหมือนมีอะไรมากดทับหรือรัดบริเวณทรวงอกด้านหน้า อาจมีอาการปวดร้าวไปถึงกราม คอ ไหล่ ต้นแขนซ้ายหรือสะบัก จะมีอาการได้ทั้งตอนอยู่เฉย ๆ หรือออกกำลังกาย หรือกำลังมีภาวะตึงเครียด และอาจมีเหงื่อร่วมด้วย ซึ่งอาจแสดงถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนในผู้ที่มีลักษณะอาการเจ็บหน้าอกแบบจี๊ด ๆ แปล๊บ ๆ เหมือนเข็มแทง เวลาหายใจจะรู้สึกเจ็บ หรือหายใจไม่ออก มักจะเป็นจากสาเหตุอื่น
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เมื่อเทียบกับคนปกติ หรือกิจกรรมที่ตัวเองเคยทำเป็นประจำแล้วไม่เคยเหนื่อยขนาดนี้ เช่น เคยเดินขึ้นบันไดอาคาร สำนักงาน หรือ สะพานลอยได้ แต่กลายเป็นเดินขึ้นไม่ไหว เหนื่อยหอบง่ายกว่าปกติ ต้องพักก่อน หรือถ้าในผู้ที่มีภาวะรุนแรง อาจมีอาการเหนื่อยขณะพัก นอนราบไม่ได้ หนุนหมอนสูง อาจแสดงถึงภาวะหัวใจล้มเหลว
- หมดสติ หรือ วูบ ไม่รู้สึกตัว เป็นลักษณะของการแสดงอาการสำคัญที่ต้องลำดับต่อว่า เป็นโรคหัวใจ หรือโรคทางสมอง หรืออาจจะแสดงถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง หรือภาวะที่มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง เช่น โรคลิ้นหัวใจตีบอย่างรุนแรงอีกด้วย
- ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว แรงหรือไม่สม่ำเสมอ อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที อาจแสดงถึงหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ขาหรือเท้าบวม เมื่อใช้นิ้วกดขาดูทั้ง 2 ข้าง เนื้อจะมีลักษณะบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป อาจแสดงถึงภาวะน้ำเกินจากภาวะหัวใจล้มเหลว
วิธีดูแลป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
การรู้จักวิธีดูแลป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจย่อมดีกว่าขั้นตอนวิธีรักษาโรคหัวใจ ทีนี้เมื่อคุณรู้หลักการสังเกตอาการของโรคหัวใจที่อาจเกิดขึ้นกับตัวคุณเองหรือคนใกล้ตัวในระยะแรกได้แล้วนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดี และการตรวจสุขภาพเพื่อยืนยันความชัดเจนจะทำให้คุณแน่ใจในข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ แต่เพื่อการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคหัวใจ คุณสามารถลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเป็นโรคหัวใจได้ทันที ด้วยการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตดังนี้ [5] [6]
- เลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์
- ออกกําลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
- ดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- จัดการความเครียด
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
รู้ไหมว่า กาแฟดำประโยชน์คือเครื่องดื่มประจำวันของใครหลายคน และจัดเป็นเครื่องดื่มกาแฟดำที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก หากดูจากสถิติในแต่ละปี คอกาแฟทั่วโลกดื่มกาแฟดำเฉลี่ยสูงถึงคนละ 42.6 ลิตร ซึ่งหากมองในด้านโภชนาการ กาแฟดำที่ไม่ได้ใส่เสริมเติมแต่งส่วนผสมอย่างอื่น เช่น ครีมเทียมและน้ำตาลทราย จัดเป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำ โดยกาแฟดำประโยชน์ 1 แก้ว (240 มล. หรือ 8 ออนซ์) มีพลังงานน้อยกว่า 5 กิโลแคลอรี และมีคุณค่าทางโภชนาการโดยมีสารสำคัญ เช่น คาเฟอีน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม กรดโฟลิก และสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย แต่สารสำคัญในกาแฟดำที่เรารู้จักกันมากที่สุดก็คือคาเฟอีน ที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นระบบประสาทและสมอง สร้างความสดชื่น ตื่นตัว กระปรี้กะเปร่า ได้เป็นอย่างดี แต่ปริมาณคาเฟอีนรวมถึงสารสำคัญต่าง ๆ ในกาแฟดำจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับสายพันธุ์และคุณภาพของกระบวนการผลิต ซึ่งหากเปรียบเทียบกาแฟในปริมาณที่เท่ากัน กาแฟสำเร็จรูป มีคาเฟอีน 24 มิลลิกรัม ต่อ 30 มิลลิลิตร ส่วนกาแฟเอสเพรซโซ่ มีคาเฟอีน 64 มิลลิกรัมต่อ 30 มิลลิลิตร อีกทั้งในปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงข้อดีต่อสุขภาพจากการดื่มกาแฟดำว่า การดื่มกาแฟดำในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ อีกทั้งยังสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 21% [7]
งานวิจัยกาแฟดำประโยชน์ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
Heart Health บทความโดยโรงพยาบาลพระรามเก้า บอกว่านอกจากคาเฟอีนในกาแฟดำ ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกที่อยู่ในกาแฟดำ เช่น แมกนีเซียม วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี12 โซเดียม แมงกานีส โพแทสเซียม แอล-คานีทีน ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีสารสำคัญอยู่ในเมล็ดกาแฟดำมากมายที่ล้วนมีประโยชน์กับสุขภาพร่างกายแตกต่างกันออกไป จากการศึกษายังพบว่า กาแฟดำเท่านั้น ที่ไม่ได้หมายความรวมไปถึงกาแฟที่มีส่วนประกอบของนมและน้ำตาล ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และลดอัตรการเสียชีวิต เมื่อดื่มกาแฟดำปริมาณ 2-4 แก้ว/วัน (ที่ดีที่สุดคือ 3.5 แก้ว/วัน) ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มกาแฟดำ และยังมีอีกหลายงานวิจัยยืนยันว่าการดื่มกาแฟดำในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 21% [7] [9]
ในปี 2021 มีการศึกษาจาก Biobank (คลังข้อมูลชีวภาพ หรือฐานข้อมูลชีวการแพทย์ขนาดใหญ่ที่จัดเก็บตัวอย่างทางชีววิทยาสำหรับการวิจัย และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการวิจัยทางการแพทย์) เรื่องการดื่มกาแฟดำ โดยการดื่มกาแฟดำ เป็นประจำ 0.5 - 3 แก้ว/วัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงหรืออัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟดำ และนอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาอีกมากที่พบว่าการดื่มกาแฟดำ 3 แก้ว/วัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟดำมากขึ้นนั้นดีต่อสมอง แต่สิ่งที่คอกาแฟดำต้องตระหนักก็คือ กาแฟแต่ละชนิด มีคาเฟอีนไม่เท่ากัน จึงควรบริโภคกาแฟดำในปริมาณที่พอดี [8]
นักวิจัยต่างใช้ข้อมูลจาก UK Biobank ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลด้านอาหารและสุขภาพจากผู้อยู่อาศัยในสหราชอาณาจักรมากกว่า 500,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 69 ปี โดยมุ่งเน้นผู้เข้าร่วมที่ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหารอย่างน้อยหนึ่งข้อ ไม่รวมผู้ที่มีภาวะหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว หรือมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับการบริโภคกาแฟหรือชา และมีการวิเคราะห์ขั้นตอนสุดท้ายด้วยการตรวจสอบการบริโภคคาเฟอีนของผู้เข้าร่วม 172,315 คน และการบริโภคกาแฟและชาของผู้เข้าร่วม 188,091 คน โดยนักวิจัยได้ทำการคัดแยกความแตกต่างระหว่างตัวเลือกปกติและแบบไม่มีคาเฟอีน และประเมินการบริโภคตามปกติของผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถาม โดยหาค่าเฉลี่ยของคำตอบจากแบบสอบถามด้านอาหารหลายรายการ
ผู้ทำแบบสอบถามถูกจัดหมวดหมู่ตามปริมาณการดื่มกาแฟและชา โดยเฉลี่ยโดยประมาณ 0, 1, 2, 3, 4, 5 หรือเครื่องดื่มหรือมากกว่านั้น/วัน และปริมาณคาเฟอีนทั้งหมดโดยประมาณ/วัน ในหน่วยมิลลิกรัม (มก.) จากการดื่มกาแฟและชาปกติ โดยมีตั้งแต่ 0 ถึง 100 มก. /วัน ไปจนถึง มากกว่า 400 มก. /วัน
ในผลการศึกษานี้ยังได้วิเคราะห์สารเมตาบอไลต์ 168 ชนิด (ซึ่งเป็นสารที่ถูกผลิตขึ้นในระหว่างที่ร่างกายเริ่มกระบวนการของระบบการเผาผลาญ) เพื่อระบุสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคกาแฟ ชา คาเฟอีน และภาวะของกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้เข้าร่วมกลุ่มย่อยจำนวนมาก
นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าการบริโภคกาแฟและคาเฟอีนในระดับปานกลาง มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงในการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มกาแฟดำ ขนาด 8 ออนซ์ 3 แก้ว หรือคาเฟอีน 200–300 มก. /วันสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลง 48.1% หรือ 40.7% ของการเกิดโรคในกลุ่มโรคหัวใจ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟดำ หรือผู้ที่บริโภคกาเฟอีนในปริมาณที่น้อยกว่า 100 มก. /วัน
นักวิจัยยังระบุได้ถึงสารเมตาบอไลต์ 81 ถึง 97 รายการ ที่เกี่ยวข้องกับกาแฟ ชา และคาเฟอีน ที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพเหล่านี้ และค้นพบข้อสรุปที่ว่าการดื่มกาแฟดำและการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่พอดีเป็นประจำ อาจมีส่วนช่วยปกป้องสุขภาพร่างกายจากโรคต่าง ๆ ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ [10]
ที่มา
[1] หลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยใกล้ตัว / บทความสุขภาพ / โรงพยาบาลปิยมหาราชการุณย์
[2] สัญญาณเตือนกลุ่มโรคหัวใจ
[3] อาการ สาเหตุ การป้องกัน เเละใครเสี่ยง? / บทความสุขภาพ / โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
[4] การประเมินความสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด / โครงการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับปีงบประมาณ 2559 ภาตใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
[5] “สัญญาณเริ่มต้นสู่อันตราย” ภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
[6] โรคหัวใจเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ การวินิจฉัยและแนวทางการรักษา
[7] ข้อดี-ข้อเสียของกาแฟ / คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
[8] ผลการวิจัยเผย ดื่มกาแฟมากกว่า 1 แก้วต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและภาวะสมองเสื่อม / สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
[9] HEART COFFEE HEALTH บทความโดยโรงพยาบาลพระรามเก้า
[10] healthline การบริโภคกาแฟในระดับปานกลางเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหัวใจและโรคเมตาบอลิซึม
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ